สถานการณ์ของการแพร่ระบาดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือโรคโควิด-19 ในประเทศเกาหลีก็อย่างที่เห็นในข่าวนะคะ ว่ามีการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วและในวงกว้าง ซึ่งทำให้ทางรัฐบาลเกาหลีมีมาตรการออกมาเพื่อจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด มินก็เลยไปแปลมาให้อ่านกัน สำหรับคนที่อยากรู้การจัดการของรัฐบาลกรุงโซล ว่าเขามีมาตรการอย่างไรบ้างกับสถานการณ์นี้ค่ะ
ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นไป รัฐบาลกรุงโซลจะเริ่มต้นมาตรการตอบโต้ 7 ประการต่อวิกฤตการณ์โคโรนาไวรัสอย่างจริงจัง มาตรการตอบโต้เชิงรุก 7 ประการ ได้แก่
1.เสริมสร้างระบบตอบโต้ต่อภัยพิบัติในกรุงโซล โดยคณะทำงานด้านการตอบโต้และสร้างความปลอดภัยจากภัยพิบัติจะขยายการทำงาน พนักงานจะทุ่มเทมากขึ้นเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกันภัยพิบัติ หน่วยงานและองค์กรของรัฐบาลกรุงโซลวางแผนที่จะให้ความสำคัญกับอำนาจการบริหารทั้งหมดโดยให้การป้องกันการติดเชื้อของโคโรนา 19 เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
นอกจากนี้สำนักงานด้านความปลอดภัยจากภัยพิบัติของกรุงโซลจะคอยเป็นหอควบคุมเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของคลินิกตรวจคัดกรองและเจ้าหน้าที่กักกัน ผ่านการประชุมทางวิดีโอเป็นประจำ โดยทำงานร่วมกันกับสำนักงานป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพ และสถาบันการแพทย์ใน 25 เมือง
รัฐบาลกรุงโซลจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานการศึกษากรุงโซล, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันความปลอดภัยและสุขภาพแห่งชาติ, สภากาชาดเกาหลี และกลุ่มพลเมือง
2.เชื่อมโยงระบบการแพทย์และการป้องกันของกรุงโซลควบคู่ไปด้วยกัน ทีมสำรวจระบาดวิทยาในพื้นที่จะขยายทีมเป็น 4 เท่าขององค์กรและเพิ่มกำลังคน แผนคือการตรวจสอบเส้นทางการติดต่อของผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันโดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ไขความวิตกกังวลของประชาชนและเพื่อตรวจหาการติดเชื้อในชุมชนอย่างละเอียด
คลินิกตรวจคัดกรองผู้ป่วยทั้ง 25 แห่งได้ทำการสกัดกั้นการติดเชื้อในพื้นที่ โดยการลดการเข้าถึงผู้ที่สุ่มเสี่ยงที่สงสัยว่าจะติดเชื้อโคโรนา ด้วยการขยายขอบเขตการรักษาให้กับพลเมืองสำหรับผู้ที่มี 'อาการน่าสงสัย'
ศูนย์สาธารณสุข 25 แห่งจะยุติการทำงานด้านการแพทย์ทั่วไปที่มีอยู่ และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ "คลินิกตรวจคัดกรอง" เพื่อให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บุคลากรทางการแพทย์จะอยู่ในคลินิกตรวจ 7-10 คน รวมถึงแพทย์และพยาบาลจะถูกจัดไว้ 2 ช่วงเวลา รวมถึงในเวลากลางคืน
ศูนย์การแพทย์กรุงโซล (Seoul Medical Center) และโรงพยาบาล SNU Boramae Medical Center จะเป็นที่แรกที่เปิดคลินิกตรวจคัดกรองสำหรับเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีปัญหาในการใช้บริการสถาบันทางการแพทย์ในเวลากลางคืน รวมถึงวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีคลินิกตรวจเฉพาะสำหรับการตรวจและรักษาอย่างรวดเร็ว
3.มีมาตรการเสริมสร้างการจัดการแก่ผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับการติดต่อของโรค โดยการป้องกันสิ่งที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์ Shinchonji ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มาของความวิตกกังวลและความหวาดกลัวให้กับคนทั้งประเทศ โดยวางแผนที่จะป้องกันการแพร่กระจายความวิตกกังวลก่อน เช่นเดียวกับในปี 2015 ที่ รัฐบาลได้มีแผนป้องกันการแพร่กระจายความวิตกกังวลใน Mers โดยดำเนินการป้องกันอย่างเข้มข้นจากโรงพยาบาล เนื่องจากประชาชนมีความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อในโรงพยาบาล
รัฐบาลกรุงโซลได้รับรายชื่อสาขาของโบสถ์ชินชอนจิและองค์กรในเครือทั้ง 170 แห่งมาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ทำให้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ได้มีการปิดสถานที่ 163 แห่งและกักกันเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ได้ทำการตรวจสอบสถานที่ที่เหลืออีก 7 แห่ง เพื่อแก้ไขความวิตกกังวลของประชาชน โดยมีแผนที่จะตรวจสอบและดำเนินมาตรการเพื่อปิดและกักกันต่อไป
ที่อยู่แต่ละสาขาของคริสตจักรชินชอนจิและองค์กรในเครือ
http://news.seoul.go.kr/welfare/archives/514110
4.ปิดการให้บริการสถานที่ชั่วคราวเป็นเวลาสองสัปดาห์ อาทิ ศูนย์สวัสดิการผู้สูงอายุ 3,601 แห่ง, ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก 5,705 แห่ง, ศูนย์เด็กในท้องถิ่น 434 แห่ง, ศูนย์กีฬาประจำเมือง 15 แห่ง รวมถึง Jamsil Indoor Gymnasium และ Gocheok Dome จะปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ในขณะที่ศูนย์วัฒนธรรม 58 แห่ง รวมถึงห้องสมุดเทศบาล พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และ Dongdaemun Design Plaza (DDP) ก็ปิดให้บริการตั้งแต่ 25 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
ในขณะที่สถานที่ทางวัฒนธรรม 13 แห่งซึ่งยากต่อการปิดเนื่องจากมีกิจกรรมที่มีการจองสถานที่ไว้ล่วงหน้า เช่น ศูนย์เซจง แต่จะมีมาตรการความปลอดภัยแยกต่างหาก ในกรณีของการแข่งขันกีฬาหากเป็นการยากที่จะยกเลิกกิจกรรม เช่น การแข่งขันของกีฬาอาชีพ (วอลเลย์บอล, บาสเก็ตบอล ฯลฯ ) หรือการแข่งขันระดับนานาชาติ จะมีการป้องกันพวกเขาอย่างทั่วถึงและลดกิจกรรมและการเล่นเกมของผู้เข้าชม
สถานที่พักพิงทั้ง 13 แห่งซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย จะยังมีการดำเนินการต่อไป แต่จะได้รับการจัดการความปลอดภัยอย่างทั่วถึง
มหาวิทยาลัยทั้ง 45 แห่ง จะมีการดำเนินการขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง ส่วนสถาบันการศึกษาที่ไม่มีใบอนุญาตจะถูกแนะนำให้ปิด อนึ่ง Gwanak English Village จะปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 9 มีนาคม 2563
5.มีมาตรการฉุกเฉินเพื่อลดการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด รัฐบาลกรุงโซลและเมืองต่างๆ มีแผนที่จะลดการสัมผัสใกล้ชิดโดยลดความแออัดของการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟใต้ดินและรถบัสโดยสาร และบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างรุนแรงโดยจำกัดการชุมนุมในตัวเมือง เช่นที่ Gwanghwamun Square
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะปรับเวลาการเดินทางเพื่อลดความแออัดของการขนส่งสาธารณะ เริ่มวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เจ้าหน้าที่มากกว่า 70% จะเดินทางไปทำงานเวลา 10.00 น. และออกเดินทางกลับเวลา 19.00 น. ยกเว้นพนักงานกักกันโคโรนา 19 นอกจากนี้เขตปกครองตนเอง 25 แห่งและหน่วยงานของเทศบาลอีก 25 แห่ง จะมีส่วนร่วมในการปรับเวลาเดินทางไปทำงานเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 42,000 คน
นอกจากนี้มีแผนที่จะทำงานร่วมกับตำรวจเพื่อควบคุมเกี่ยวกับการชุมนุมในเมืองที่กำลังจะมาถึง เช่น ที่ Gwanghwamun Square หลังจากจัดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว และคาดว่าจะมีการชุมนุมอีกครั้งในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคมนี้ โดยจะไม่อนุญาตให้มีการติดตั้งเวทีบนถนนและพลาซ่า ซึ่งผู้เข้าร่วมชุมนุมในเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และเป็นกลุ่มอายุที่อ่อนแอที่สุดของเชื้อโคโรนา 19
6.TBSเปิดช่องทางใหม่เพื่อออกอากาศพิเศษ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของความวิตกกังวลและความหวาดกลัวที่มากเกินไป โดยจะทำการปิดกั้นข่าวปลอมและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยวางแผนที่จะจัดระเบียบใหม่ของการออกอากาศทางวิทยุและโทรทัศน์ และเพิ่มระบบออกอากาศพิเศษทางช่อง YouTube
โดยจะมีการออกอากาศ "การบรรยายสรุป COVID-19" เป็นประจำทุกวันเวลา 11.00 น.ทาง TBS ตามด้วยการออกอากาศทาง YouTube ในเวลา 15.00 น. เพื่อเปิดเผยสถานการณ์การแพร่ระบาดในกรุงโซลต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส
นอกจากนี้ TBS eFM สถานีวิทยุที่คอยให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ชาวต่างชาติและชุมชนชาวจีนในเกาหลี เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จากสถานการณ์นี้จะถูกเปลี่ยนเป็นระบบออกอากาศเต็มวัน
*TBS เป็นสถานีโทรทัศน์และวิทยุที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกรุงโซล
7.ปรับโครงสร้างแนวทางพฤติกรรมของพลเมือง โดยคอยให้คำแนะนำการดำเนินการป้องกันแก่ประชาชน ให้สอดคล้องกับระดับ "รุนแรง"
โดยเฉพาะผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยเรื้อรังที่อาจอ่อนแอต่อเชื้อโคโรนา 19 ควรหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก และเน้นการสวมหน้ากากที่ป้องกันได้ดี รวมถึงทำความสะอาดมือทุกวัน
นอกจากนี้หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้และไอ ให้หลีกเลี่ยงการไปยังสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล แต่ให้ขอคำปรึกษาทางโทรศัพท์กับ Call Center กองควบคุมโรค 1339 หรือ Call Center ศูนย์ควบคุมโรค 120
สามารถดูคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพิ่มเติมได้จากที่นี่ >> http://news.seoul.go.kr/welfare/archives/514187
ทั้งนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเอาชนะวิกฤตโคโรนา 19 และถือโอกาสนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการพัฒนาสังคม
ที่มา : http://mediahub.seoul.go.kr/archives/1270336